ประวัติ ความเป็นมา
ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ เดิมได้จัดตั้งเป็น “หน่วยเครื่องมือกลาง” ประจำคณะเภสัชศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ ครั้งที่ 9/2534 เพื่อเป็นหน่วยงานเฉพาะในคณะเภสัชศาสตร์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายวิจัยและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ในคณะ ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม ดูแลรักษา ให้บริการในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในด้านการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 “หน่วยเครื่องมือกลาง” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการด้านปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การทำวิจัย และการพัฒนาเชิงวิชาการ เพื่อรองรับการพัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการแก้ปัญหาและพัฒนาระดับท้องถิ่นและประเทศ
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรบริการวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล และเอื้อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ
พันธกิจ
1. ให้บริการวิชาการด้านปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
เป็นเครือข่ายห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพด้านการวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา
2. เสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในท้องถิ่นและภูมิภาค
4. เป็นแหล่งศึกษา วิจัย และถ่ายทอดความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ ที่มีคุณภาพในระดับสากล
นโยบายคุณภาพ
ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำหนดนโยบายคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005 ดังนี้
1. มุ่งมั่นที่จะบริหารงานด้านบริการทดสอบอย่างมืออาชีพ มีมาตรฐานตามระบบการบริหารงาน ISO/IEC 17025 : 2005
2. กำหนดวัตถุประสงค์คุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการบริการที่ถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ ได้ผลตรงตามเวลาที่กำหนด เพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
3. บุคลากรทุกคนมีความรู้ประสบการณ์ในระบบการบริหารงาน เข้าใจและปฏิบัติตามระบบคุณภาพและนโยบายอย่างสม่ำเสมอ และคงรักษาไว้ทั่วองค์กร
4. พัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้การบริการของศูนย์บริการฯ เป็นไปอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005
แผนการดำเนินงานระยะต่อไป
1. พัฒนาและจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC17025
เพื่อเป็นแนวทางมาตรฐานที่นำมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง
2. จัดตั้งศูนย์วิจัยทางคลินิก เพื่อพัฒนาการศึกษาวิจัยในคนให้ได้มาตรฐาน
Good Clinical Practice
3. จัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา
เช่น LC-MS/MS